วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556


รูปแบบการออกแบบผลิตภัณฑ์

          รูปแบบการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Style)มีอยู่มากมาย มีการเกิดขึ้นและพัฒนาต่อเนื่องสม่ำเสมอ บ้างก็อยู่ในกระแสนิยม บ้างก็คลายความนิยม บ้างก็หวนคืนสู่ความนิยมซ้ำตามความสนใจของสังคมในเวลานั้น  บนความหลากหลายในวิถีทางการออกแบบทำให้ผลงานที่เกิดจากแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกันนั้นถูกสร้างสรรค์และคลี่คลายสืบทอดต่อๆ กันมาตามลำดับ แต่ไม่ว่าจะเลือกใช้รูปแบบใดก็ล้วนแต่สร้างเงื่อนไขในการผลิตงานออกแบบที่น่าสนใจได้ทั้งสิ้น  ตัวอย่างเช่น

1.   รูปแบบมาก่อนประโยชน์ใช้สอย(Function follows form)

             เป็นวิถีทางการออกแบบที่นิยมความงามของรูปทรงเป็นหลัก  โดยยึดแนวคิดที่ว่าความงามต้องมาก่อนประโยชน์ใช้สอยเสมอ  และมักถูกนำมาใช้อธิบายขั้นตอนในการปฏิบัติการเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เน้นความงามเป็นหลัก  จุดประสงค์ที่สำคัญก็เพื่อยกระดับคุณค่าผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น  เพื่อนำไปสู่การเพิ่มราคาสินค้า

             ดังนั้น  การจะเป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ได้ดีตามแนวคิดนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการซึมซับความงามจากผลงานศิลปะแขนงต่างๆ ที่มีคุณภาพไว้มากๆ  จะเป็นทางออกหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ความงามที่แฝงอยู่ในผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับกฎเกณฑ์ใดๆ  ขอให้ยืดหยุ่นตามความรู้สึก

2.   ประโยชน์ใช้สอยมาก่อนรูปแบบ(Form follows function)

             เป็นวิถีทางการออกแบบของหลุยส์  สุลิแวน (Louis  Sulivan)  ที่นิยมประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก (Functionalism)  ภายใต้ปรัชญาที่ว่าประโยชน์ใช้สอยต้องมาก่อนความงามเสมอ  และถูกนำมาใช้อธิบายขั้นตอนในการปฏิบัติการเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลิตจำนวนมาก  โดยให้ความสำคัญกับการออกแบบที่สอดคล้องกับการทำงานของเครื่องจักร  การประหยัดวัสดุ ความสะดวกในการใช้งาน การคงคลัง และการขนส่ง เป็นต้น แนวคิดดังกล่าวตรงกันข้ามกับปรัชญาที่มองความงามของรูปทางมาก่อนสิ่งใด

              แนวทางการออกแบบของสถาบันบาวเฮาส์(Bauhaus)ประเทศเยอรมนี  มีลักษณะสอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว  คือให้ความสำคัญด้านประโยชน์ใช้สอย  วัสดุกรรมวิธีการผลิตโดยเครื่องจักรทางอุตสาหกรรม  และการใช้รูปทรงเรขาคณิตอันเรียบง่าย  ปราศจากการตกแต่งประดับประดาเกินความจำเป็น  ยังคงเป็นแบบอย่างของการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่น่าสนใจ  แนวทางการออกแบบดังกล่าวประกอบด้วยลักษณะสำคัญ  คือ

         รูปทรง  สีสัน  และประโยชน์ใช้สอยเหมาะสมกับสภาพความเป็นไปของสังคม

         ราคาเหมาะสมกับกำลังซื้อของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ซื้อหรือผู้ใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ

3.   การตลาดมาก่อนออกแบบ  (Design follow marketing)

             วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์จะมีรูปแบบเหมือนปิรามิด  ถือกำเนิดโดยยึดฐานของปิรามิดแล้วพยายามยกระดับตัวเองนั้น  ไม่ว่าจะเป็นด้านคุณภาพและเอกลักษณ์เฉพาะตัว การยกระดับตัวเองนั้นมักจะทำให้ราคาสูงขึ้นด้วย  ดังนั้นเมื่อผลิตภัณฑ์ใด ๆ  ไต่ระดับขึ้นสู่ยอดปิรามิด  จำเป็นที่ธุรกิจนั้นจะต้องละทิ้งฐานซึ่งเป็นตลาดล่างไป  แต่จะได้ลูกค้าชั้นดีที่มีความมั่นคงและจ่ายเงินดี  ฐานชั้นล่างที่ถูกทิ้งไปก็จะมีผู้อื่นเข้ามายึดครองแทน  กรณีตัวอย่างเช่น นาฬิกาสวิสซึ่งใช้เวลาหลายสิบปีเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จนได้ภาพพจน์ว่าเป็นนาฬิกาที่ดีที่สุดในโลก  แต่ต้องสูญเสียฐานการตลาดระดับล่างให้กับนาฬิกาญี่ปุ่นที่เจาะเข้ามายึดตลาดล่างด้วยลูกเล่นใช้สอยพิเศษ เช่น เป็นเครื่องคิดเลข  เป็นปฏิทิน  ฯลฯ  ในที่สุดเมื่อภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ  ผู้ผลิตนาฬิกาสวิสทั้งหลายจึงเริ่มตระหนักว่าการถูกนาฬิกาญี่ปุ่นยึดตลาดล่างไปนั้นก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้มหาศาล  และสูญเสียภาพพจน์ของผู้ผลิตนาฬิกาชั้นนำของโลกไปทีละน้อยอีกด้วย

               การเข้ายึดตลาดในแนวกว้างโดยขยายฐานลูกค้าให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้  จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องกระทำเพื่อรักษาความมั่นคงของธุรกิจไว้  ในกรณีของนิโคลาส ฮาเยก  ผู้พลิกโฉมหน้าใหม่ให้กับนาฬิกาสวิสได้สำเร็จได้ตั้งหลักการของนาฬิกา สวอทซ์(Swatch )ไว้ 3 ข้อที่น่าสนใจ  คือ

               กลุ่มเป้าหมายทั่วไป (Target  Public) การออกแบบของสวอทซ์จะใช้ได้สำหรับทุกๆ  คน ตั้งแต่คุณยายไปจนถึงเจ้าชาย  ต้องมีรูปแบบที่สนองตอบได้หลากหลายและเพียงพอต่อคนทุกระดับชั้น อายุ และอาชีพต่างๆ  กัน

               กลุ่มเป้าหมายระดับสูง (High quality ) การรักษาคุณภาพการออกแบบและการผลิตที่ดีไว้  เพราะเป็นข้อแตกต่างที่สำคัญของสวอทซ์  กับนาฬิกาญี่ปุ่นอื่นๆ เช่น กันน้ำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

               กลุ่มเป้าหมายระดับล่าง (Low cost ) การออกแบบและการผลิตเน้นไปที่ระบบที่ดีที่สุด  แต่มีต้นทุนต่ำที่สุด ไม่ใช่ผลิตสินค้าราคาถูกแต่เป็นราคาที่สมเหตุสมผล

4.   อารมณ์ความรู้สึกมาก่อนรูปแบบ (Form follows emotion)

             เมื่อเทคโนโลยีมาถึงจุดที่สามารถตอบสนองในด้านการตอบรับต่อประโยชน์ใช้สอยและรูปแบบได้มากขึ้น  คอมพิวเตอร์ชิปมีขนาดเล็กและยืดหยุ่นได้เปิดขอบเขตที่กว้างขึ้นของรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่บรรจุมัน  หรือวัสดุสังเคราะห์ที่ตอบสนองการใช้สอยประเภทต่างๆ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น  จนทำให้ปรัชญาการออกแบบปรับเปลี่ยนมาเป็น อารมณ์ความรู้สึกมาก่อนรูปแบบด้วยความเชื่อที่ว่าผู้บริโภคในปัจจุบันมิได้เพียงต้องการสินค้า  ภาพลักษณ์  หรือสิ่งแวดล้อม  แต่ต้องการคุณค่าของความรื่นรมย์  ประสบการณ์และลักษณะเฉพาะบางอย่าง

             อารมณ์หรือความรู้สึกคือสิ่งสำคัญในชีวิตของคนเราทั่วไป  เพราะเป็นตัวสะท้อนสิ่งที่เรารู้สึก  สิ่งที่เรากระทำและสิ่งที่เราคิด  ผ่านตา  หู  จมูก  ลิ้น  หรือผิวสัมผัส    มนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดอารมณ์หรือความรู้สึกได้งรูปแบบน  ่สวอทซ์  กับนาฬิกาญ่าน  แนวคิดดังกล่าวตรงกันข้ามกับปรัชญ  สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดอย่างหนึ่งคือ  ความรู้สึกนั้นไม่ว่าจะในแง่บวกหรือแง่ลบก็ตาม  สามารถเปลี่ยนกระบวนความคิดของเราได้  จนส่งผลถึงการตัดสินใจ  การเลือก  และการกระทำในที่สุด  งานออกแบบที่ดีในปัจจุบันจึงต้องเป็นทั้งสิ่งที่น่าปรารถนา  และก่อให้เกิดความสบายใจ  ความรู้สึกในเชิงบวกนั้นจะทำให้เราสามารถที่จะอดทนอดกลั้นต่อความลำบาก  หรืออุปสรรคเล็กๆ น้อยๆ  ของการใช้สอยไปได้  เพราะเมื่อคนเราเกิดความพอใจและมีความสบายใจต่อวัตถุหนึ่ง  คนเราก็จะสามารถจินตนาการแก้ไขหาทางออกของการใช้สอยที่ลำบากนั้นได้อย่างยืดหยุ่น  ผ่อนคลาย  เต็มใจ  และเต็มเปี่ยมไปด้วยความคิมเ็

ดสร้างสรรค์  จนเป็นที่มาของประโยคที่ว่า  "สิ่งของที่มีหน้าตาน่าพึงพอใจมักสามารถใช้สอยไปเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งเปลือกนอกที่สวยงาม  เพราะความงามที่สมบูรณ์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งยังคงต้องเติมเต็มในส่วนของความมีประโยชน์  ความสามารถในการใช้งาน  และความสามารถในการสื่อสารให้คนเราเข้าใจได้ดีด้วย"

               ผลิตภัณฑ์ที่มีอารมณ์และความรู้สึกแฝงเร้นอยู่ในตัว(Emotional  Product)  สามารถดึงดูดจิตใจของผู้สัมผัสงาน  และก่อเกิดเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความคิดต่อเนื่องที่หลากหลายได้  ลักษณะสำคัญของ  การออกแบบที่เน้นอารมณ์ความรู้สึก  จะคำนึงถึงองค์ประกอบ  3  ประการ  ได้แก่

               การออกแบบที่คำนึงถึงรูปลักษณ์ที่สวยงาม (Visceral design )  ก่อให้เกิดความถูกตาถูกใจ  เมื่อผู้บริโภคได้พบเห็นเป็นครั้งแรก  รูปลักษณ์ก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองแบบฉับพลัน  ที่ส่งผ่านการรับรู้ด้วยตาไปยังสมองส่วนที่เกิดความการรู้สึกตัดสินว่าดีหรือเลว  ปลอดภัยหรืออันตราย  สวยหรือน่าเกลียด  ชอบหรือไม่ชอบ  นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดความรู้สึกและอารมณ์ต่างๆ โดยในบางครั้งการใช้สอยอาจไม่สะดวกนัก  แต่คนบางกลุ่มก็พร้อมที่จะประนีประนอมเพื่อที่จะอยู่ร่วมหรือใช้สอยสิ่งของเหล่านั้นได้อย่างพึงพอใจ

              การออกแบบที่คำนึงถึงพฤติกรรมการใช้สอย (Behavioral  design)  การมีประโยชน์ใช้สอยได้จริง  และก่อให้เกิดความพึงพอใจเมื่อได้ใช้ผลิตภัณฑ์นั้นผ่านประสาทสัมผัสทั้งการมองเห็นและการสัมผัส  ซึ่งพฤติกรรมการใช้สอยนั้นเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายหลังการใช้สอย การคิดวิเคราะห์แบบสมเหตุสมผลจะเข้ามามีอิทธิพลต่อความรู้สึกมากขึ้นนอกเหนือไปจากการรับรู้รูปลักษณ์เมื่อแรกเห็น  โดยความรู้สึกที่ดีนั้นสามารถเกิดได้จาความรู้สึกว่าสามารถควบคุมได้  เข้าใจได้  ใช้งานง่าย  สะดวก  และเหมาะสม  เพราะการใช้งานที่เหมาะสมจะนำไปสู่ความถนัดและความชำนาญได้เร็ว  ทำให้ผู้ใช้รู้สึกผ่อนคลายและพึงพอใจในการใช้สอยผลิตภัณฑ์นั้นๆ ดังนั้นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายหลังการใช้สอยจึงเป็นตัวส่งเสริมหรือยับยั้งความรู้สึกประทับใจที่เกิดขึ้นเมื่อแรกเห็นได้

                การออกแบบที่คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบสนองจากผู้ใช้ (Reflection design)  คือเมื่อผู้ใช้ได้ใช้ผลิตภัณฑ์นั้นแล้วจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง  เกิดความรู้สึกผูกพันหรือพึงพอใจในประสบการณ์หรือภาพลักษณ์จากผลิตภัณฑ์นั้น  และยังสามารถสื่อให้ผู้ใช้ทราบได้ถึงเอกลักษณ์หรือรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของ  ซึ่งภาพลักษณ์นั้นเป็นความรู้สึกที่ไม่ได้เกิดจากการมองเห็นหรือใช้สอยสิ่งของโดยตรง  แต่เกิดจากความคิดย้อนกลับว่าสิ่งของที่เลือกใช้สอยเหล่านั้น  ส่งภาพสะท้อนหรือแสดงภาพลักษณ์ของผู้ที่ใช้ต่อคนภายนอกอย่างไร  ความสำคัญของภาพลักษณ์นี้ไม่ได้มีผลเพียงข้าวของที่มีไว้เพื่อใช้หรือใส่แสดงให้คนภายนอกเห็นเท่านั้น  ยังรวมไปถึงข้าวของบางอย่างที่ใช้แล้วคนอื่นอาจมองไม่เห็น  แต่กลับสร้างความมั่นใจและเติมอารมณ์ความรู้สึกที่ขาดหายไปของผู้ใช้ให้เต็มได้  และเปล่งประกายออกมาสู่สายตาคนภายนอกในที่สุด

5.  รูปแบบนิยมความน้อย (Minimal style)

            เป็นการออกแบบที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดมินิมอลลิสม์ (Minimalist)  คือยิ่งเรียบง่ายก็ยิ่งดูดี  แต่ให้ความสะดวกสบาย  เพราะทุกวันนี้มนุษย์ทำงานหนักมากขึ้น  จึงต้องการผ่อนคลายมากขึ้นเช่นกัน  ยิ่งสิ่งรอบตัวมีความซับซ้อนมากขึ้น  มนุษย์ก็ยิ่งแสวงหาความเรียบง่ายมากขึ้น  เพื่อชุบชีวิตชีวา  สร้างความสดชื่น  และความสนุกสนาน  ความสุขอย่างเรียบง่ายจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยุคใหม่ใฝ่หา

             งานออกแบบในแนวทางนี้สืบเนื่องมาจากความพยายามในการสานต่อแนวทางการออกแบบของสถาปนิกกลุ่มโมเดิร์น คอื  มีส์ วาน เดอ โรห์ (Mies van der Rohe) เจ้าของคำพูด"มีน้อยแต่มีมาก" (Less  is  more)  หรือที่นิยมเรียกกันว่า มินิมอล สไตล์ (Minimal  style)  เป็นงานที่มีความโดดเด่น  เรียบง่ายแต่ชัดเจน  ประกอบด้วยมาตราส่วนที่ถูกต้อง เห็นแล้วทำให้รู้สึกถึงการทดลองใช้วัสดุต่างๆ  กับการผสมผสานกันระหว่างรูปทรงและพื้นที่ว่าง  นับเป็นวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ที่ผสมผสานดัดแปลงวัฒนธรรมใหม่กับเก่าเข้าด้วยกัน  ไม่ใช่ลักษณะที่รับมาตรง ๆ  ลักษณะสำคัญของรูปแบบ มินิมอล สไตล์ได้แก่

       ลักษณะรูปทรงเด่นชัด  เรียบง่ายตามมาตราส่วน

       มีลักษณะของความง่ายเป็นระบบ

       ไม่มีลักษณะของสัญลักษณ์ปรากฏ  มีแต่ลักษณะของเทคนิคใหม่ๆ  ที่เกิดจากการทดลองทางศิลปะ

6.   รูปแบบอนาคตกาล (Futuristic  Style)

             เป็นการออกแบบที่ไม่เพียงแต่การสร้างสรรค์ผลงานที่มีรูปแบบเรียบเก๋สวยงามอย่างเดียวเท่านั้น  แต่จะต้องเพิ่มความสำคัญทางด้านรูปแบบการทำงานร่วมกันกับเทคโนโลยี  เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการออกแบบและเทคโนโลยีต่างๆ  ที่ใช้ในการผลิตผลงานนั้นๆ เพื่อสนองความต้องการทางใจและปัญญาของมนุษย์ที่ไม่มีวันสิ้นสุด  เป็นการออกแบบเพื่ออนาคตข้างหน้าโดยพิจารณาวิเคราะห์ข้อมูลที่น่าจะเป็นไปได้สำหรับอนาคตความแตกต่างระหว่างสไตล์กับแฟชั่น

             บ่อยครั้งที่มีผู้เข้าใจว่าสไตล์และแฟชั่นเป็นสิ่งที่คล้ายคลึงกัน  และใช้แทนที่กันได้  แต่ที่จริงแล้วสไตล์และแฟชั่นแตกต่างกัน สไตล์ (Style) เป็นชนิดหรือแบบที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษ  ของการสร้างสรรค์หรือการนำเสนอ  อาจเป็นด้านศิลปะการออกแบบฯลฯ  เช่น  นักร้องย่อมมีสไตล์ในการร้องเพลงที่เป็นแบบฉบับเฉพาะพิเศษของเขา  หรือรถยนต์ย่อมมีหลายแบบหลายสไตล์ เช่น  แบบซีดานส์  แบบสเตชั่นวากอน เป็นต้น

             แฟชั่น (Fashion)  คือแบบหรือสไตล์ใด ๆ  ซึ่งเป็นที่ยอมรับและเป็นที่นิยมชมชอบ  แต่สไตล์ทุกสไตล์ไม่จำเป็นจะต้องกลายเป็นแฟชั่นเสมอไป  สิ่งใดที่กลายเป็นแฟชั่นที่ได้รับความนิยมหรือ "สมัยนิยม" (Fashionable)  จะต้องเป็นที่ยอมรับและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง

             แฟชั่นเป็นสิ่งที่มีรากฐานอยู่ในองค์ประกอบของสังคมวิทยาและจิตวิทยา  โดยกฎพื้นฐานแล้วมนุษย์ย่อมจะลอกเลียนแบบ(Conformists) หรือมีแนวโน้มที่จะกระทำตามกัน  แต่ขณะเดียวกันก็ชอบทำแตกต่างจากผู้อื่นบ้างเล็กน้อย  ซึ่งมิใช่ต่อต้านหรือขัดขวาง  เพียงแต่อยากมีลักษณะเป็นตัวของตัวเอง  ในขณะเดียวกันก็ยังนิยมแฟชั่นนั้นอยู่  เพื่อมิให้ถูกกล่าวหาว่าไร้รสนิยม ดังนั้นแฟชั่นจึงให้โอกาสกับบุคคลในการพินิจพิเคราะห์หรือไตร่ตรองในการแสดงออกถึงรสนิยม ความรู้สึกของตนเองได้ด้วย

             อย่างไรก็ตามสไตล์พื้นฐานจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่แฟชั่นจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ(Basic  styles never change,but fashion is always changing ) เนื้อหาสาระของสไตล์หรือแฟชั่นครอบคลุมไว้เพียงหลักการเท่าสั้น  นักออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดี  ควรมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง  โดยประสานเข้ากับหลักการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้แนวคิดของประโยชน์ใช้สอย วัสดุ หรือรูปแบบของงานออกแบบในทิศทางที่ตอบรับกับพฤติกรรมให้สัมพันธ์กับวิถีการดำรงชีวิต สภาพเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การออกแบบที่ลึกและครอบคลุมประเด็นต่างๆ  ของปัญหาได้มากกว่า ย่อมเกิดประโยชน์ต่อการใช้สอยและสร้างความยั่งยืนให้กับผลิตภัณฑ์ได้ยาวนานกว่า
เครดิต  http://netra.lpru.ac.th/~weta/ch-2/index.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น