วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556


หลักการ The Function Complex   กับการออกแบบผลิตภัณฑ์  ECO Design   

                    The Function Complex   มาจากปัจจัยของการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่นักออกแบบต้องคำนึงถึงนั่นเอง  แสดงความเชื่อมโยงการออกแบบผลิตภัณฑ์ หัวใจสำคัญคือ ประโยชน์ใช้สอย (Function)  ต้องมาเป็นสิ่งแรก แต่ประโยชน์ใช้สอย (Function)  ก็ต้องอาศัยปัจจัยข้ออื่นๆ ช่วยเสริมความสมบรูณ์ของหน้าที่ แค่ละข้อของตัวมันเอง    โดยเริ่มความจำเป็น (Needs) เป็นต้นมา   
                  แนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์  ECO Design   ก็คงจะคล้ายๆ กับหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั่วๆไป  ผสมเข้ากับกระแสในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน  โดยให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการมีส่วนร่วม  ในการช่วยลดภาวะโลกร้อน เหมือนอย่างเช่นงานออกแบบบรรจุภัณฑ์เคยใช้ได้ผลมาแล้ว   ในเรื่องของ บรรจุภัณฑ์แบบเติม (Refill) ซึ่งก็ได้ทั้งการ Reduce คือลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ฟุ่มเฟือย    เท่ากับลดปริมาณขยะ   กับ Reuse คือให้ใช้บรรจุภัณฑ์ตัวหลักซ้ำโดยการซื้อมาเติม แทนที่     แต่กว่าจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคได้ก็ต้องใช้เวลาหลายปี        ดังได้กล่าวไว้แล้วว่าสิ่งที่หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงเป็นอันดับแรกคือ ประโยชน์ใช้สอย  (Function)     ก็จะใช้ Function ของผลิตภัณฑ์ ECO Design     เป็นแกนหลักในการคิดการออกแบบออก  มาด้วยการประยุกต์ใช้  The Function Complex     
(แบบจำลอง The Function Complex อ้างอิงจาก  วัชรินทร์  จรุงจิตสุนทร. หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ : กรุงเทพฯ แอ๊ปป้า พริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด ,2548 )     
 แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันระหว่า ง Function ของผลิตภัณฑ์ ECO Design     กับปัจจัยด้านอื่นๆ ที่สัมพันธ์กัน  เพื่อเป็นกรณีศึกษาในเชิง ทฤษฏีเป็นภาพกว้าง  ของการออกแบบผลิตภัณฑ์ 
ภาพที่ 1  eco shower drop ฝักบัวตลับเมตร  สามารถบันทึกปริมาณการอาบน้ำของคุณ ว่าใช้น้ำปริมาณกี่ลิตร  ต่อครั้งจะหาค่าเฉลี่ยให้ในแต่ละบ้าน เพื่อความเหมาะสม และที่สำคัญ จะบอกค่าน้ำที่ใช้อาบด้วยว่าเป็นเงินเท่าไร  โดยผู้ใช้ต้องตั้งค่าราคาน้ำต่อลิตรก่อน
ภาพที่ 2  Jar solar light  นำแสงแดดมาไว้ในโถแก้ว    โถแก้วมีแบตเตอรี่ และไฟ LED ใต้ฝา จะสามารถเก็บพลังงานแสงแดดในเวลากลางวัน เมื่อเริ่มมืด โถนี้จะเริ่มเรืองแสงมีทั้ง แสงสีส้ม และสีฟ้า  อยู่นานถึง 5 ชั่วโมง สถานที่ ที่ไม่ต้องการแสงไม่มาก
ภาพที่ 3  นาฬิกา จากพลังน้ำ Multi function  ทำงานด้วย น้ำ H20 พลังแบตเตอรี่  ด้วยระบบดิจิตอลมี function พร้อมสมบรูณ์
ภาพที่ 4  ราวตากผ้าในบ้าน กรณี ฝนตก พื้นที่จำกัด ไม่มีพื้นที่ตากผ้า สามารถชักรอกขึ้นไปตากด้านบนเพดานได้   ติดตั้งง่ายสะดวก
ภาพที่ 5  cool cap หมวกมีพัดลมเย็น จากพลังงานแสงอาทิตย์ พัดไล่ความร้อน ช่วยไม่ให้ เหงื่อไหลลงมาที่หน้าผาก เหมาะสำหรับ พ่อครัวหน้าเตา  แสงแดดยิ่งจัด พัดลมยิ่งหมุนแรงขึ้น

               1.ความจำเป็น (Needs)    ทุกคนในโลกใบนี้ล้วนแต่ประสบผลของภาวะโลกร้อน (Global warming ) โลกกำลังเผชิญกับปัญหาที่ชั้นบรรยากาศของโลกกลับหนาขึ้น  เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ที่มนุษย์เป็นผู้ก่อ  เมื่อชั้นบรรยากาศหนาขึ้น  จะกักเก็บรังสีอินฟราเรดซึ่งควรจะหลุดลอดไปสู่ห้วงอวกาศ  ผลที่ตามมา  คืออุณหภูมิของบรรยากาศโลก  และมหาสมุทร  กลับร้อนขึ้นจนอยู่ในระดับอันตราย  มนุษย์ควรต้องลดการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ   ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่ปล่อยก๊าซดังกล่าว
              2.จุดมุ่งหมาย (Telesis)   การออกแบบผลิตภัณฑ์ Eco Design  มีจุดมุ่งหมายที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ ในด้านของพลังงานสะอาด   , การลดความสิ้นเปลืองของพลังงาน  ,   กระบวนการของ 4R  ,  การไม่ก่อมลภาวะของผลิตภัณฑ์ ,  ฯต่อผู้บริโภคในการใช้สอยในชีวิตประจำวัน

ภาพที่ 6  Foot operated สำหรับลดขนาดขยะที่เป็นกระป๋อง ด้วยการบด หรือกดด้วยเท้าเหยียบ จะสามารถลดขนาดกระป๋องได้1 ใน 3 ของขนาดกระป๋องเดิม เพื่อลดพื้นที่ของขยะ
 ภาพที่ 7  สวนผักสมุนไพรอินทรีย์ของตนเอง ปลูกได้ในบ้าน จำหน่ายในถุงบรรจุเสร็จ มีดิน ปุ๋ยสูตรพิเศษแค่ฉีกถุง วางในที่ต้องการ รดน้ำ โดยไม่ต้องใช้ ผืนดิน หรือกระถาง
 ภาพที่ 8  ที่โกนหนวด มันไม่ต่างกับที่โกนหนวด สำเร็จรูปทั่วไปเท่าไร เพียงแต่ ด้ามจับทำมาจาก ภาชนะถ้วยพลาสติกบรรจุโยเกิร์ต ที่ใช้แล้ว เป็นการ รีไซเคิลพลาสติก
ภาพที่ 9 กระเป๋าซิป ใส่เครื่องสำอางค์ ทำจากกล่องน้ำผลไม้ที่ใช้แล้ว ความสดชื่น สีสัน น่ารัก สดใสของฉลากบรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้   ทำให้เข้ากับการใส่เครื่องสำอางของสุภาพสตรี
ภาพที่ 10 กอริลา Laptop Charge ที่ชาร์ตแบตเตอรี่ จากพลังงานแสงอาทิตย์ มี ถึง2 แผง ให้พลัง 10 วัตต์ สามารถชาร์ต อุปกรณ์อื่นๆได้ เช่น โทรศัพท์ เครื่องเล่น mp3  ipod ฯ

               3.การสื่อความหมาย (Association)  นักออกแบบได้เสนอแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ Eco Design  เป็น 4  ลักษณะ ประกอบด้วย      1)  การเน้นด้านประโยชน์ใช้สอย ของผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูง   มีความปลอดภัย เป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน   และมีคุณค่าในการเป็นส่วนร่วมในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม      2)  การเน้นคุณค่าของวัสดุที่มาจากธรรมชาติ  วัสดุในท้องถิ่นเพื่อลดพลังงานในการเคลื่อนย้าย    และการใช้วัสดุจากการ Recycle3)  ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สนองตอบวิถีของคนในเมือง  สร้างภาพลักษณ์ ให้ผลิตภัณฑ์ Eco Design สำหรับคนที่มีชีวิตทันสมัย     เป็นผู้นำแฟชั่น   4)   ความง่าย ไม่มีความยุ่งยากซับซ้อนในการใช้งาน     และการหาซื้อผลิตภัณฑ์     
                โดยทั้ง 4 ประการที่กล่าวมาต้องการให้เกิดพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ Eco Design  ที่มีความพึงพอใจในประโยชน์    และคุณค่าของผลิตภัณฑ์ของการอนุรักษ์ธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม ช่วยลดภาวะโลกร้อน   จนขยายวงกว้างไปเป็นความภักดีในตัวผลิตภัณฑ์   และร่วมเป็นครอบครัวรักษ์สิ่งแวดล้อม
ภาพที่ 11 Solar charger ที่ชาร์จ iPod และโทรศัพท์มือถือพลังแสงอาทิตย์ มี 2 สี  สี ขาว และสีเงิน
ภาพที่ 12 ของเล่นจากกระดาษแข็ง เป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถให้เด็กใช้ความสามารถในการสร้าง หรือพับ  สร้างขึ้นมาเอง เป็นการเสริมทักษะการสังเกต และใช้ความคิดด้วย
               4.สุนทรีย์ ความงาม Aesthetic  ผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ Eco Design   นี้มีความพิถีพิถันในด้านของรูปทรง วัสดุที่ใช้และสีสัน เน้นการผสมผสานรูปแบบระหว่าง  รูปทรงที่คล้อยตามประโยชน์ใช้สอย (Form  follows  function)   กับ ความเรียบง่ายตามอิทธิพลของ Minimalist  ซึ่งมีเหตุผล 2 ประการ   เป็นเหตุผลในกรรมวิธีผลิตที่ต้องการลดกระบวนการ  และความซับซ้อนเป็นการประหยัดพลังงาน ซึ่งผลิตภัณฑ์ Eco Design   จะต้องมีความตระหนักตั้งแต่การผลิต ถือเป็นเรื่องการนำเสนอเหตุผลความเป็นจริง (Rational appeal) ให้คุณค่าความสำคัญทางจิตใจ ของหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์  Eco Design   อีกประการคือรูปทรงเรียบง่ายจะช่วยผู้บริโภคผ่อนคลายจากความเคร่งเครียดในชีวิตประจำวัน  สอดคล้องกับแนวทางของนักออกแบบ และสถาปนิกชื่อดังในอดีตคือ  Mies van der Rohe (TTIS Textile digest ,2550เว็บไซต์)    ที่กล่าวว่า  
 “Less is more”       หมายถึง การคิดให้มาก   และเหลือให้น้อย  คือผลิตภัณฑ์ที่มีความเด่น มีประสิทธิภาพสูง ภายใต้รูปลักษณ์ที่ความเรียบง่าย นั่นเอง
            5.วิธีการ Method    วัสดุ กระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ Eco Design   จะครอบคลุมวงจรผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแบ่งให้ชัดเจน  คือ ใช้หลัก 4 Rในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน   การวางแผนการผลิต (Planning Phase)  เรื่อยจนถึง ช่วงการนำไปใช้ (Usage Phase)

ภาพที่ 13  ที่ให้น้ำ ต้นไม้ ใช้ขวดพลาสติกรีไซเคิล ติดตั้งง่าย สะดวกมีระบบรดน้ำหยดตลอด 24 ชม. ควบคุมการไหลของน้ำโดยไม่ต้องพึ่ง ไฟฟ้า หรือระบบน้ำประปา คล้ายกาลักน้ำ น้ำจะหยดลงลึกถึงราก 
 ภาพที่ 14   โต๊ะเก้าอี้ชุดสำนักงานสำนักงาน จากกระดาษ Eco Desk เป็นนวัตกรรม จากกระดาษรีไซเคิล100% Paperweight มีความเงางาม สีขาว สะอาด  ออกแบบระบบการจัดการสายไฟฟ้าและสามารถประกอบในเพียงไม่กี่นาที
                  6.การใช้งาน Use ผลิตภัณฑ์ Eco Design  ได้ออกแบบมาเพื่อ เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือนทั่วๆไป  ทั้งใช้ภายในในบ้าน      ห้องนอน ห้องรับแขก  ห้องครัว  ห้องน้ำ   สวนบริเวณ   ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก  เครื่องกีฬา     อุปกรณ์สำนักงาน     อุปกรณ์ที่พกติดตัว   เครื่องใช้ไฟฟ้า    เป็นต้น ฯลฯ     ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ออกแบบมาให้สามารถ มีการใช้งานที่เหมือนๆ  ผลิตภัณฑ์ทั่วๆไป    ที่ผู้บริโภคเคยใช้มา     โดยผู้บริโภคไม่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่  

  
ภาพที่ 15   Solar Camp เป็นถุงฝักบัว รับแสงอาทิตย์ Sunncampน้ำหนักเบาแพ็คเดินทางได้   จะใช้น้ำอุ่นโดยการกรอกด้วยน้ำธรรมดา น้ำให้ถุงถูกแดดเป็นเวลา 3 ชั่วโมง    เวลาใช้ก็นำถุงมาแขวนขึ้นไป จะมีฝักบัวประกอบอยู่ท้าย       คุณก็สามารถ ที่จะอาบน้ำอุ่นได้ ในยามเดินทาง พักแรม
ภาพที่ 16    ของเล่น Kit  เรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์กับสนุกเปลี่ยนหุ่นยนต์นี้
นี้มาก ด้วยพลัง แสงอาทิตย์   สามารถสร้างจินตนาการ ใช้ง่าย, สนุกให้ชุดหุ่นยนต์ที่แปลงเป็นของเล่นขับเคลื่อนที่แตกต่างได้ 6 แบบ ใน 1 เดียว   ทั้งกังหันลม   ลูกสุนัขหรือเรือ ทั้งได้ศึกษาทั้งสนุก ไปกับพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับเด็กและผู้ใหญ่
ภาพที่ 17 Solar Robot Kit Minicarรถหุ่นยนต์อย่างง่าย ใช้พลังแสงอาทิตย์ขับเคลื่อน มาในชุดรถเคลื่อนที่ได้ เมื่อดวงอาทิตย์ส่องบนของแผงเซลล์แสงอาทิตย์
ภาพที่ 18    'Polywrap' ถังขยะทิ้งกระดาษ  สีสันสดใส, ทำความสะอาดง่ายทำจากพลาสตืกแผ่นเดียว เป็นแผ่นคลี่ พับขึ้นรูปเองได้ 

ภาพที่ 19   Ben Bin โครงรับถุงใส่ขยะ     ด้วยการใช้ถุง ช๊อปปิ้ง ที่มีเกลื่อนกลาดเต็มบ้าน รีไซเคิล   ด้วยการใช้ซ้ำ   เป็นถุงใส่ขยะ  ในครัวเรือนหรือสำนักงาน
 ภาพที่ 20  เก้าอี้โยก รีไซเคิลจากเก้าอี้ในโรงภาพยนตร์ และที่นั่งโรงละครโรงภาพยนตร์ที่มีการปรับปรุงใหม่ใช้สีแบบ superhero ในแต่ละชิ้น  ให้ความสวยงาม แบบของศิลปะ
--------------------------------------------------------------------
อ้างอิง
กรณีศึกษาตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ ECO Design   ท้องตลาดที่นำภาพมาเสนอ
          เป็นภาพตัวอย่างงาน ผลิตภัณฑ์ที่มีผลิตขึ้นมาขายในยุโรปขายดีมาก อยากจะแนะนำให้ เพื่อเป็นที่เข้าใจ  ของอ้างอิงจาก เว็บไซต์ http://www.nigelsecostore.com/blog/  ซึ่งมีผลิตภัณฑ์กว่าร้อยชนิด

เครดิต http://www.gotoknow.org/posts/388729

7 ตัวอย่างการออกแบบผลิตภัณฑ์ตรงใจผู้ใช้งาน

July 19, 2012

เรื่อง : ธีรพิชญ์ สืบวงศ์ลี
เมื่อธุรกิจเริ่มมีคู่แข่งมากขึ้น ความยากในการขายสินค้าของแต่ละแบรนด์ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ธุรกิจเจ้าใหญ่หลายแบรนด์จึงต้องคิดค้นวิธีที่จะชนะคู่แข่งโดยหันไปใส่ใจให้น้ำหนักกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ให้มากขึ้น วันนี้ TCDC จึงนำเสนอ 7 ตัวอย่างการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่เชื่อมโยงความคิดสร้างสรรค์กับการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ เพราะความต้องการของผู้ใช้นี่เองจะเป็นหนึ่งตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้ผู้ใช้เลือกสินค้าแบรนด์เราเป็นแบรนด์โปรด และทำให้แบรนด์เรามีความโดดเด่นกับแบรนด์อื่นได้อย่างง่ายดาย

1. Macbook Air ออกแบบโดย Appleหลายๆ คนอาจจะเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้แล้ว Macbook Air ขนาด 13 นิ้ว ที่มีส่วนที่บางที่สุดเพียง 3 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักเพียงแค่ 1.3 กิโลกรัมเท่านั้น แต่คุณรู้ไหม Apple สร้างคอมพิวเตอร์เครื่องนี้อย่างไร? ด้วยนวัตกรรมใหม่ของ Apple ที่สร้างแหล่งเก็บข้อมูลหรือ flash storage ที่มีความหนาน้อยกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปถึง 90 เปอร์เซ็นต์ จึงจำเป็นต้องสร้าง Product Design ที่แตกต่างหากจาก Macbook Pro ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด การที่ Apple ได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ตัวนี้ขึ้นมา เพราะต้องการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีน้ำหนักเบาและพกพาไปไหนมาไหนได้ง่ายขึ้น
2. Newport Capo for G7th ออกแบบโดย Bluefrog Designหลายๆ คนที่เคยเล่นกีต้าร์มาก่อนคงพอที่จะรู้ว่าผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้คืออะไร แต่สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับการเล่นกีต้าร์ Capo คือเครื่องมือที่ช่วยแปลงเสียงของกีต้าร์ให้มีลำดับเสียงที่สูงขึ้น แต่ส่วนมากผู้เล่นกีต้าร์จะไม่นิยมใช้ Capo กันเพราะมันดูน่าเกลียด ทำให้เล่นได้ยากขึ้น และยังทำให้เสียงสูงจนเพี๊ยนด้วยในบางเวลา Bluefrog Design จึงคิดค้น Capo ที่เบาขึ้น รูปร่างสวยงามมากขึ้น และมีขนาดเล็กเล็กลงเพื่อที่จะตอบสนองปัญหาของมือกีต้าร์ทั้งหลาย
3. New Bowl for Alessi ออกแบบโดย Terence Conranนักออกแบบ Terence Conran ผู้ที่ฉลองงานครบรอบวันเกิดของตัวเองด้วยการออกแบบถ้วยเหล็กถ้วยนี้ ซึ่งผลิตขึ้นจากเหล็กกล้า มีความกว้าง 20 เซนติเมตรและความสูง 9.5 เซนติเมตร เพื่อจะทำหน้าที่เก็บความเย็นของอาหารและผลไม้ไว้ในถ้วยได้ยาวนานขึ้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารชื้นและเสียรสชาติไป
4. Jambox[k1] for Jawbone ออกแบบโดย Yves Behar and Jawbone ลำโพงไร้สายตัวนี้เกิดขึ้นจากความต้องการลำโพงที่สามารถส่งเสียงดังสนั่นและสามารถพกพาไปไหนต่อไหนได้สะดวก รวมถึงเชื่อมต่อกับทุกอุปกรณ์ที่บรรจุเพลงโปรดของเราไว้ ไม่ว่าจะเป็น iPhone iPodTouch หรือ iPad ได้ Jambox เป็นลำโพงที่ทำจากเหล็กกล้า เชื่อมด้วยท่อยางที่คลุมสี่รอบด้าน เพื่อลดส่วนประกอบอื่นๆ ที่ไม่จำเป็น ดีไซน์ด้วยความเรียบง่ายนี้ก็ทำให้ดูเก๋ไก๋ไปอีกแบบ
5. Quickfix Bicycle Mudguard ออกแบบโดย Full Windsor คนที่ชอบขี่จักรยานโลดโผนบนภูเขาคงเคยมีปัญหาดินโคลนกระเด็นใส่ผู้ขับจากล้อหลัง บริษัท Full Windsor จึงนำปัญหานี้มาสร้างเป็นโอกาสทางธุรกิจ โดยสร้างที่กันโคลนที่มีประสิทธิภาพดี แถมได้รับการออกแบบมาเพื่อที่จะสามารถล็อคติดกับจักรยานทุกชนิดได้ง่ายๆ และยังผลิตจากวัสดุรีไซเคิลอีกด้วย
6. Bicygnals Angel ออกแบบโดย Gavin Thompson Design 
ในต่างประเทศมีสถิติอุบัติเหตุจักรยานมากที่สุดหลังช่วงเวลาสี่โมงเย็นเป็นต้นไป ซึ่งเป็นเวลาที่มืดค่ำแล้ว นักออกแบบ Gavin Thompson จึงคิดค้นหมวกกันน็อคที่เรืองแสงในที่มืด แบบวงกลม 360 องศา และชาร์ตแบตเตอรี่ผ่าน USB ได้ หมวกกันน็อคตัวนี้จะกระพริบแสงเป็นจังหวะ เพื่อบอกตำแหน่งของคนที่ขี่จักรยานให้คนที่ขับรถยนต์รู้ ผลิตภัณฑ์นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความปลอดภัยของคนที่ขับจักรยานกลับบ้านตอนกลางคืนในต่างประเทศ
7. iPad 2 ออกแบบโดย Apple
อีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ที่ต้องการเครื่องมืออิเล็คโทรนิคที่เบาและสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้ด้วยเช่นกัน Apple ออกแบบ iPad 2 ให้มีความบางกว่า iPad รุ่นก่อนหน้าถึง 33 เปอร์เซ็นต์และมีน้ำหนักเบากว่าถึง 15 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังติดกล้องไว้สองด้าน และกล้องถ่ายรูปด้านหลังรองรับการถ่ายแบบความละเอียดสูงอีกด้วย
เครดิตภาพ: http://static.clickbd.com/global/classified/item_img/429531_0_original.jpg
http://www.davisguitar.com/admin/products/photo/Newport.jpg
http://www.epuredesign.co.uk/images/plarge/x/officina-alessi-nice-bowl-terence-conran-23840.jpg
http://unicaworld.com/wp-content/uploads/2011/08/TC01.jpg
http://c648757.r57.cf2.rackcdn.com/tc01.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhBljaO0AcRifETqXcYY-DVdF_XGlnhz4Ufwp_fpxC44thgM3Rmklh8sstXVUu2Gsnupf9p_mTA7Srp0At5_JFrn3yeaLJQnhIek-p29ejHIBKEmCL1plm7xuK8tfDgDTPrsSDVF5JGfsE/s1600/13846BF352504FACA9098B0360F7B1F1.jpg
http://inhabitat.com/full-windsors-brilliant-quickfix-bike-fender-snaps-onto-any-cycle-in-seconds/windsor-quickfix-recycled-bicycle-fender/
http://www.betterlivingthroughdesign.com/images/full-windsor-bicycle-mudguards02.jpg
http://awards.designweek.co.uk/dw/2012/entry-showcase.html
http://productdd.tarad.com/shop/p/productdd/img-lib/spd_20110419175534_b.jpg
http://blog.lnw.co.th/wp-content/uploads/2011/04/ipad2_surgery.jpg


Read more: http://article.tcdcconnect.com/articles/designweek-uk2012#ixzz2NEYpnQ5J


เครดิต http://article.tcdcconnect.com/articles/designweek-uk2012

รูปแบบการออกแบบผลิตภัณฑ์

          รูปแบบการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Style)มีอยู่มากมาย มีการเกิดขึ้นและพัฒนาต่อเนื่องสม่ำเสมอ บ้างก็อยู่ในกระแสนิยม บ้างก็คลายความนิยม บ้างก็หวนคืนสู่ความนิยมซ้ำตามความสนใจของสังคมในเวลานั้น  บนความหลากหลายในวิถีทางการออกแบบทำให้ผลงานที่เกิดจากแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกันนั้นถูกสร้างสรรค์และคลี่คลายสืบทอดต่อๆ กันมาตามลำดับ แต่ไม่ว่าจะเลือกใช้รูปแบบใดก็ล้วนแต่สร้างเงื่อนไขในการผลิตงานออกแบบที่น่าสนใจได้ทั้งสิ้น  ตัวอย่างเช่น

1.   รูปแบบมาก่อนประโยชน์ใช้สอย(Function follows form)

             เป็นวิถีทางการออกแบบที่นิยมความงามของรูปทรงเป็นหลัก  โดยยึดแนวคิดที่ว่าความงามต้องมาก่อนประโยชน์ใช้สอยเสมอ  และมักถูกนำมาใช้อธิบายขั้นตอนในการปฏิบัติการเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เน้นความงามเป็นหลัก  จุดประสงค์ที่สำคัญก็เพื่อยกระดับคุณค่าผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น  เพื่อนำไปสู่การเพิ่มราคาสินค้า

             ดังนั้น  การจะเป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ได้ดีตามแนวคิดนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการซึมซับความงามจากผลงานศิลปะแขนงต่างๆ ที่มีคุณภาพไว้มากๆ  จะเป็นทางออกหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ความงามที่แฝงอยู่ในผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับกฎเกณฑ์ใดๆ  ขอให้ยืดหยุ่นตามความรู้สึก

2.   ประโยชน์ใช้สอยมาก่อนรูปแบบ(Form follows function)

             เป็นวิถีทางการออกแบบของหลุยส์  สุลิแวน (Louis  Sulivan)  ที่นิยมประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก (Functionalism)  ภายใต้ปรัชญาที่ว่าประโยชน์ใช้สอยต้องมาก่อนความงามเสมอ  และถูกนำมาใช้อธิบายขั้นตอนในการปฏิบัติการเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลิตจำนวนมาก  โดยให้ความสำคัญกับการออกแบบที่สอดคล้องกับการทำงานของเครื่องจักร  การประหยัดวัสดุ ความสะดวกในการใช้งาน การคงคลัง และการขนส่ง เป็นต้น แนวคิดดังกล่าวตรงกันข้ามกับปรัชญาที่มองความงามของรูปทางมาก่อนสิ่งใด

              แนวทางการออกแบบของสถาบันบาวเฮาส์(Bauhaus)ประเทศเยอรมนี  มีลักษณะสอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว  คือให้ความสำคัญด้านประโยชน์ใช้สอย  วัสดุกรรมวิธีการผลิตโดยเครื่องจักรทางอุตสาหกรรม  และการใช้รูปทรงเรขาคณิตอันเรียบง่าย  ปราศจากการตกแต่งประดับประดาเกินความจำเป็น  ยังคงเป็นแบบอย่างของการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่น่าสนใจ  แนวทางการออกแบบดังกล่าวประกอบด้วยลักษณะสำคัญ  คือ

         รูปทรง  สีสัน  และประโยชน์ใช้สอยเหมาะสมกับสภาพความเป็นไปของสังคม

         ราคาเหมาะสมกับกำลังซื้อของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ซื้อหรือผู้ใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ

3.   การตลาดมาก่อนออกแบบ  (Design follow marketing)

             วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์จะมีรูปแบบเหมือนปิรามิด  ถือกำเนิดโดยยึดฐานของปิรามิดแล้วพยายามยกระดับตัวเองนั้น  ไม่ว่าจะเป็นด้านคุณภาพและเอกลักษณ์เฉพาะตัว การยกระดับตัวเองนั้นมักจะทำให้ราคาสูงขึ้นด้วย  ดังนั้นเมื่อผลิตภัณฑ์ใด ๆ  ไต่ระดับขึ้นสู่ยอดปิรามิด  จำเป็นที่ธุรกิจนั้นจะต้องละทิ้งฐานซึ่งเป็นตลาดล่างไป  แต่จะได้ลูกค้าชั้นดีที่มีความมั่นคงและจ่ายเงินดี  ฐานชั้นล่างที่ถูกทิ้งไปก็จะมีผู้อื่นเข้ามายึดครองแทน  กรณีตัวอย่างเช่น นาฬิกาสวิสซึ่งใช้เวลาหลายสิบปีเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จนได้ภาพพจน์ว่าเป็นนาฬิกาที่ดีที่สุดในโลก  แต่ต้องสูญเสียฐานการตลาดระดับล่างให้กับนาฬิกาญี่ปุ่นที่เจาะเข้ามายึดตลาดล่างด้วยลูกเล่นใช้สอยพิเศษ เช่น เป็นเครื่องคิดเลข  เป็นปฏิทิน  ฯลฯ  ในที่สุดเมื่อภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ  ผู้ผลิตนาฬิกาสวิสทั้งหลายจึงเริ่มตระหนักว่าการถูกนาฬิกาญี่ปุ่นยึดตลาดล่างไปนั้นก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้มหาศาล  และสูญเสียภาพพจน์ของผู้ผลิตนาฬิกาชั้นนำของโลกไปทีละน้อยอีกด้วย

               การเข้ายึดตลาดในแนวกว้างโดยขยายฐานลูกค้าให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้  จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องกระทำเพื่อรักษาความมั่นคงของธุรกิจไว้  ในกรณีของนิโคลาส ฮาเยก  ผู้พลิกโฉมหน้าใหม่ให้กับนาฬิกาสวิสได้สำเร็จได้ตั้งหลักการของนาฬิกา สวอทซ์(Swatch )ไว้ 3 ข้อที่น่าสนใจ  คือ

               กลุ่มเป้าหมายทั่วไป (Target  Public) การออกแบบของสวอทซ์จะใช้ได้สำหรับทุกๆ  คน ตั้งแต่คุณยายไปจนถึงเจ้าชาย  ต้องมีรูปแบบที่สนองตอบได้หลากหลายและเพียงพอต่อคนทุกระดับชั้น อายุ และอาชีพต่างๆ  กัน

               กลุ่มเป้าหมายระดับสูง (High quality ) การรักษาคุณภาพการออกแบบและการผลิตที่ดีไว้  เพราะเป็นข้อแตกต่างที่สำคัญของสวอทซ์  กับนาฬิกาญี่ปุ่นอื่นๆ เช่น กันน้ำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

               กลุ่มเป้าหมายระดับล่าง (Low cost ) การออกแบบและการผลิตเน้นไปที่ระบบที่ดีที่สุด  แต่มีต้นทุนต่ำที่สุด ไม่ใช่ผลิตสินค้าราคาถูกแต่เป็นราคาที่สมเหตุสมผล

4.   อารมณ์ความรู้สึกมาก่อนรูปแบบ (Form follows emotion)

             เมื่อเทคโนโลยีมาถึงจุดที่สามารถตอบสนองในด้านการตอบรับต่อประโยชน์ใช้สอยและรูปแบบได้มากขึ้น  คอมพิวเตอร์ชิปมีขนาดเล็กและยืดหยุ่นได้เปิดขอบเขตที่กว้างขึ้นของรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่บรรจุมัน  หรือวัสดุสังเคราะห์ที่ตอบสนองการใช้สอยประเภทต่างๆ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น  จนทำให้ปรัชญาการออกแบบปรับเปลี่ยนมาเป็น อารมณ์ความรู้สึกมาก่อนรูปแบบด้วยความเชื่อที่ว่าผู้บริโภคในปัจจุบันมิได้เพียงต้องการสินค้า  ภาพลักษณ์  หรือสิ่งแวดล้อม  แต่ต้องการคุณค่าของความรื่นรมย์  ประสบการณ์และลักษณะเฉพาะบางอย่าง

             อารมณ์หรือความรู้สึกคือสิ่งสำคัญในชีวิตของคนเราทั่วไป  เพราะเป็นตัวสะท้อนสิ่งที่เรารู้สึก  สิ่งที่เรากระทำและสิ่งที่เราคิด  ผ่านตา  หู  จมูก  ลิ้น  หรือผิวสัมผัส    มนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดอารมณ์หรือความรู้สึกได้งรูปแบบน  ่สวอทซ์  กับนาฬิกาญ่าน  แนวคิดดังกล่าวตรงกันข้ามกับปรัชญ  สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดอย่างหนึ่งคือ  ความรู้สึกนั้นไม่ว่าจะในแง่บวกหรือแง่ลบก็ตาม  สามารถเปลี่ยนกระบวนความคิดของเราได้  จนส่งผลถึงการตัดสินใจ  การเลือก  และการกระทำในที่สุด  งานออกแบบที่ดีในปัจจุบันจึงต้องเป็นทั้งสิ่งที่น่าปรารถนา  และก่อให้เกิดความสบายใจ  ความรู้สึกในเชิงบวกนั้นจะทำให้เราสามารถที่จะอดทนอดกลั้นต่อความลำบาก  หรืออุปสรรคเล็กๆ น้อยๆ  ของการใช้สอยไปได้  เพราะเมื่อคนเราเกิดความพอใจและมีความสบายใจต่อวัตถุหนึ่ง  คนเราก็จะสามารถจินตนาการแก้ไขหาทางออกของการใช้สอยที่ลำบากนั้นได้อย่างยืดหยุ่น  ผ่อนคลาย  เต็มใจ  และเต็มเปี่ยมไปด้วยความคิมเ็

ดสร้างสรรค์  จนเป็นที่มาของประโยคที่ว่า  "สิ่งของที่มีหน้าตาน่าพึงพอใจมักสามารถใช้สอยไปเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งเปลือกนอกที่สวยงาม  เพราะความงามที่สมบูรณ์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งยังคงต้องเติมเต็มในส่วนของความมีประโยชน์  ความสามารถในการใช้งาน  และความสามารถในการสื่อสารให้คนเราเข้าใจได้ดีด้วย"

               ผลิตภัณฑ์ที่มีอารมณ์และความรู้สึกแฝงเร้นอยู่ในตัว(Emotional  Product)  สามารถดึงดูดจิตใจของผู้สัมผัสงาน  และก่อเกิดเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความคิดต่อเนื่องที่หลากหลายได้  ลักษณะสำคัญของ  การออกแบบที่เน้นอารมณ์ความรู้สึก  จะคำนึงถึงองค์ประกอบ  3  ประการ  ได้แก่

               การออกแบบที่คำนึงถึงรูปลักษณ์ที่สวยงาม (Visceral design )  ก่อให้เกิดความถูกตาถูกใจ  เมื่อผู้บริโภคได้พบเห็นเป็นครั้งแรก  รูปลักษณ์ก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองแบบฉับพลัน  ที่ส่งผ่านการรับรู้ด้วยตาไปยังสมองส่วนที่เกิดความการรู้สึกตัดสินว่าดีหรือเลว  ปลอดภัยหรืออันตราย  สวยหรือน่าเกลียด  ชอบหรือไม่ชอบ  นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดความรู้สึกและอารมณ์ต่างๆ โดยในบางครั้งการใช้สอยอาจไม่สะดวกนัก  แต่คนบางกลุ่มก็พร้อมที่จะประนีประนอมเพื่อที่จะอยู่ร่วมหรือใช้สอยสิ่งของเหล่านั้นได้อย่างพึงพอใจ

              การออกแบบที่คำนึงถึงพฤติกรรมการใช้สอย (Behavioral  design)  การมีประโยชน์ใช้สอยได้จริง  และก่อให้เกิดความพึงพอใจเมื่อได้ใช้ผลิตภัณฑ์นั้นผ่านประสาทสัมผัสทั้งการมองเห็นและการสัมผัส  ซึ่งพฤติกรรมการใช้สอยนั้นเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายหลังการใช้สอย การคิดวิเคราะห์แบบสมเหตุสมผลจะเข้ามามีอิทธิพลต่อความรู้สึกมากขึ้นนอกเหนือไปจากการรับรู้รูปลักษณ์เมื่อแรกเห็น  โดยความรู้สึกที่ดีนั้นสามารถเกิดได้จาความรู้สึกว่าสามารถควบคุมได้  เข้าใจได้  ใช้งานง่าย  สะดวก  และเหมาะสม  เพราะการใช้งานที่เหมาะสมจะนำไปสู่ความถนัดและความชำนาญได้เร็ว  ทำให้ผู้ใช้รู้สึกผ่อนคลายและพึงพอใจในการใช้สอยผลิตภัณฑ์นั้นๆ ดังนั้นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายหลังการใช้สอยจึงเป็นตัวส่งเสริมหรือยับยั้งความรู้สึกประทับใจที่เกิดขึ้นเมื่อแรกเห็นได้

                การออกแบบที่คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบสนองจากผู้ใช้ (Reflection design)  คือเมื่อผู้ใช้ได้ใช้ผลิตภัณฑ์นั้นแล้วจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง  เกิดความรู้สึกผูกพันหรือพึงพอใจในประสบการณ์หรือภาพลักษณ์จากผลิตภัณฑ์นั้น  และยังสามารถสื่อให้ผู้ใช้ทราบได้ถึงเอกลักษณ์หรือรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของ  ซึ่งภาพลักษณ์นั้นเป็นความรู้สึกที่ไม่ได้เกิดจากการมองเห็นหรือใช้สอยสิ่งของโดยตรง  แต่เกิดจากความคิดย้อนกลับว่าสิ่งของที่เลือกใช้สอยเหล่านั้น  ส่งภาพสะท้อนหรือแสดงภาพลักษณ์ของผู้ที่ใช้ต่อคนภายนอกอย่างไร  ความสำคัญของภาพลักษณ์นี้ไม่ได้มีผลเพียงข้าวของที่มีไว้เพื่อใช้หรือใส่แสดงให้คนภายนอกเห็นเท่านั้น  ยังรวมไปถึงข้าวของบางอย่างที่ใช้แล้วคนอื่นอาจมองไม่เห็น  แต่กลับสร้างความมั่นใจและเติมอารมณ์ความรู้สึกที่ขาดหายไปของผู้ใช้ให้เต็มได้  และเปล่งประกายออกมาสู่สายตาคนภายนอกในที่สุด

5.  รูปแบบนิยมความน้อย (Minimal style)

            เป็นการออกแบบที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดมินิมอลลิสม์ (Minimalist)  คือยิ่งเรียบง่ายก็ยิ่งดูดี  แต่ให้ความสะดวกสบาย  เพราะทุกวันนี้มนุษย์ทำงานหนักมากขึ้น  จึงต้องการผ่อนคลายมากขึ้นเช่นกัน  ยิ่งสิ่งรอบตัวมีความซับซ้อนมากขึ้น  มนุษย์ก็ยิ่งแสวงหาความเรียบง่ายมากขึ้น  เพื่อชุบชีวิตชีวา  สร้างความสดชื่น  และความสนุกสนาน  ความสุขอย่างเรียบง่ายจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยุคใหม่ใฝ่หา

             งานออกแบบในแนวทางนี้สืบเนื่องมาจากความพยายามในการสานต่อแนวทางการออกแบบของสถาปนิกกลุ่มโมเดิร์น คอื  มีส์ วาน เดอ โรห์ (Mies van der Rohe) เจ้าของคำพูด"มีน้อยแต่มีมาก" (Less  is  more)  หรือที่นิยมเรียกกันว่า มินิมอล สไตล์ (Minimal  style)  เป็นงานที่มีความโดดเด่น  เรียบง่ายแต่ชัดเจน  ประกอบด้วยมาตราส่วนที่ถูกต้อง เห็นแล้วทำให้รู้สึกถึงการทดลองใช้วัสดุต่างๆ  กับการผสมผสานกันระหว่างรูปทรงและพื้นที่ว่าง  นับเป็นวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ที่ผสมผสานดัดแปลงวัฒนธรรมใหม่กับเก่าเข้าด้วยกัน  ไม่ใช่ลักษณะที่รับมาตรง ๆ  ลักษณะสำคัญของรูปแบบ มินิมอล สไตล์ได้แก่

       ลักษณะรูปทรงเด่นชัด  เรียบง่ายตามมาตราส่วน

       มีลักษณะของความง่ายเป็นระบบ

       ไม่มีลักษณะของสัญลักษณ์ปรากฏ  มีแต่ลักษณะของเทคนิคใหม่ๆ  ที่เกิดจากการทดลองทางศิลปะ

6.   รูปแบบอนาคตกาล (Futuristic  Style)

             เป็นการออกแบบที่ไม่เพียงแต่การสร้างสรรค์ผลงานที่มีรูปแบบเรียบเก๋สวยงามอย่างเดียวเท่านั้น  แต่จะต้องเพิ่มความสำคัญทางด้านรูปแบบการทำงานร่วมกันกับเทคโนโลยี  เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการออกแบบและเทคโนโลยีต่างๆ  ที่ใช้ในการผลิตผลงานนั้นๆ เพื่อสนองความต้องการทางใจและปัญญาของมนุษย์ที่ไม่มีวันสิ้นสุด  เป็นการออกแบบเพื่ออนาคตข้างหน้าโดยพิจารณาวิเคราะห์ข้อมูลที่น่าจะเป็นไปได้สำหรับอนาคตความแตกต่างระหว่างสไตล์กับแฟชั่น

             บ่อยครั้งที่มีผู้เข้าใจว่าสไตล์และแฟชั่นเป็นสิ่งที่คล้ายคลึงกัน  และใช้แทนที่กันได้  แต่ที่จริงแล้วสไตล์และแฟชั่นแตกต่างกัน สไตล์ (Style) เป็นชนิดหรือแบบที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษ  ของการสร้างสรรค์หรือการนำเสนอ  อาจเป็นด้านศิลปะการออกแบบฯลฯ  เช่น  นักร้องย่อมมีสไตล์ในการร้องเพลงที่เป็นแบบฉบับเฉพาะพิเศษของเขา  หรือรถยนต์ย่อมมีหลายแบบหลายสไตล์ เช่น  แบบซีดานส์  แบบสเตชั่นวากอน เป็นต้น

             แฟชั่น (Fashion)  คือแบบหรือสไตล์ใด ๆ  ซึ่งเป็นที่ยอมรับและเป็นที่นิยมชมชอบ  แต่สไตล์ทุกสไตล์ไม่จำเป็นจะต้องกลายเป็นแฟชั่นเสมอไป  สิ่งใดที่กลายเป็นแฟชั่นที่ได้รับความนิยมหรือ "สมัยนิยม" (Fashionable)  จะต้องเป็นที่ยอมรับและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง

             แฟชั่นเป็นสิ่งที่มีรากฐานอยู่ในองค์ประกอบของสังคมวิทยาและจิตวิทยา  โดยกฎพื้นฐานแล้วมนุษย์ย่อมจะลอกเลียนแบบ(Conformists) หรือมีแนวโน้มที่จะกระทำตามกัน  แต่ขณะเดียวกันก็ชอบทำแตกต่างจากผู้อื่นบ้างเล็กน้อย  ซึ่งมิใช่ต่อต้านหรือขัดขวาง  เพียงแต่อยากมีลักษณะเป็นตัวของตัวเอง  ในขณะเดียวกันก็ยังนิยมแฟชั่นนั้นอยู่  เพื่อมิให้ถูกกล่าวหาว่าไร้รสนิยม ดังนั้นแฟชั่นจึงให้โอกาสกับบุคคลในการพินิจพิเคราะห์หรือไตร่ตรองในการแสดงออกถึงรสนิยม ความรู้สึกของตนเองได้ด้วย

             อย่างไรก็ตามสไตล์พื้นฐานจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่แฟชั่นจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ(Basic  styles never change,but fashion is always changing ) เนื้อหาสาระของสไตล์หรือแฟชั่นครอบคลุมไว้เพียงหลักการเท่าสั้น  นักออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดี  ควรมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง  โดยประสานเข้ากับหลักการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้แนวคิดของประโยชน์ใช้สอย วัสดุ หรือรูปแบบของงานออกแบบในทิศทางที่ตอบรับกับพฤติกรรมให้สัมพันธ์กับวิถีการดำรงชีวิต สภาพเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การออกแบบที่ลึกและครอบคลุมประเด็นต่างๆ  ของปัญหาได้มากกว่า ย่อมเกิดประโยชน์ต่อการใช้สอยและสร้างความยั่งยืนให้กับผลิตภัณฑ์ได้ยาวนานกว่า
เครดิต  http://netra.lpru.ac.th/~weta/ch-2/index.html